วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การประเมินใช้เครืองมือบล๊อก

การประเมินการใช้บล็อกนี้
ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
รู้สึกได้ว่าอาจารย์ต้องการให้นักศึกษาค้นหาข้อมูลด้วยตนเองการที่นักศึกษาเอาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยเพื่อให้นักศึกษามีความคิดที่เป็นของตัวเองเพื่อให้นักศึกษาไปใช้ประโยชน์ต่อไปครับ                                                                                               
2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ได้รับความรู้ในการใส่ภาพในรูปแบบสไลด์และการแทรกลูกเล่นต่างๆเช่นการใช้ปฏิทิน การใส่เพลง  เมาส์ และนาฬิกา เป็นต้น  เพื่อเป็นการพัฒนาในการใช้บล็อกต่อไปเพื่อใช้ในการสอนด้วยครับ
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
สะดวกมาก ในหลายกรณี เช่น ส่งงานไม่ทันเราก็สามารถส่งทางบล็อกได้ และมีเวลาในการค้นคว้างานที่ได้ประสิทธิภาพและมีเวลาคิดวิเคราะห์ที่มากขึ้น สามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้มีประโยชน์มากขึ้น
4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว (เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)
มากที่สุด เนื่องจากได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นการฝึกการใช้งานของบล็อกได้มากขึ้นและรู้จักวิธีการใช้งานของบล็อก ช่วยเสริมสร้างความรู้ความสามารถในก้าวทันยุคทันสมัยในปัจจุบันและให้ทันโลกของโลกาภิวัฒน์ สดวกต่อการเป็นครูพันธ์ใหม่ด้วยครับ

สอบครั้งที่ 2

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1. Classroom Management
การจัดการในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน การสร้างวินัย ในชั้นเรียนตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูและการพัฒนาทักษะการสอน ของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.HappinessClassroom
            หมายถึง การจัดห้องเรียนให้มีความสุข
3. Life-long Education
การเรียนรู้ตลอด หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถจะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเอง
4. formal Education
การศึกษาในระบบ  หมายถึง การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
5. non-formal education
ศึกษานอกระบบ หมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก
6. E-learning
การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศอาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนการสอนบนเว็บ การเรียนออนไลน์ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ อาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวิดีทัศน์ ตามอัธยาศัย เป็นต้น
7. Graded
หมายถึง การเรียนแบบระดับชั้น เช่น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นต้น
8. Policy education
     นโยบายการศึกษา คือ หลักการหรือกรอบความคิด แนวทางกลวิธีการดําเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น   
9. Vision
วิสัยทัศน์ หมายถึง การสร้างภาพอนาคต หรือการมองอนาคตซึ่งจะเป็นเป้าหมายในการเดินไปสู่อนาคต โดยวิธีการนำเอาระบบการวางแผนมาใช้ หรือหมายถึงสิ่งที่อยากเห็นในอนาคตและเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิม
10. Mission
พันธกิจ หมายถึง หน้าที่โดยรวมของสถาบันการศึกษา เป็นการตอบคำถามที่ว่า สถาบันการศึกษาต้องการบรรลุอะไรเป็นพันธะสัญญาที่ต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ เป็นจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบันการศึกษาและเป็นขอบข่าย การดำเนินงานของสถาบันการศึกษานั้น พันธกิจอาจกำหนดโดยผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือตลาดเป้าหมายที่สถาบันการศึกษาให้บริการ ความสามารถที่โดดเด่นของสถาบันการศึกษา หรือเทคโนโลยีที่สถาบันการศึกษาใช้
11. Goals
เป้าหมาย หมายถึง การกำหนดสิ่งที่ต้องการในอนาคต ซึ่งองค์การจะต้องพยายามให้เกิดขึ้น หรือหมายถึง เป็นการกำหนดภารกิจของธุรกิจในรูปของผลลัพธ์สำคัญที่ต้องการ เป้าหมายมีความเฉพาะเจาะจงน้อยกว่าวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์จะกำหนดขึ้น หลังจากกำหนดเป้าหมายแล้ว เป้าหมายเลิงกลยุทธ์จะช่วยผู้บริหารให้คิดเกี่ยวกับสิ่งซึ่งธุรกิจต้องบรรลุผลเป้าหมายโดยทั่วไปเป็นปรัชญาของจุดมุ่งหมาย
12. Objective
วัตถุประสงค์ หมายถึง เป้าหมายซึ่งต้องการให้กิจกรรมบรรลุผลหรือหมายถึงเป้าหมายระยะสั้นที่มี ลักษณะเจาะจง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้
13. backward design
หมายถึง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการพัฒนาตน เองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพการเรียนรู้และการทำงานของ ครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้ของครูเกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเพื่อนครู ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา ปรับปรุง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู ทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือปฏิบัติ แล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ต่อผู้อื่น
14. Effectiveness
ประสิทธิผล หมายถึง การปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้
15. Efficiency
ประสิทธิภาพ หมายถึง การปฏิบัติงานหรือบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว ใช้เทคนิคที่สะดวกสบายกว่าเดิม คุ้มค่า และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในขณะที่ต้องการผลงานมากที่สุด
16. Economy
เศรษฐศาสตร์ หมายถึงการศึกษาถึงวิธีการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมาใช้อย่างประหยัดหรืออย่างมีประสิทธิภาพ
17. Equity
 หมายถึง ความเสมอภาพ
18. Empowerment
หมายถึง การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจ เพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิต วิถีการทำงาน ให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
19. Engagement
การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย
20. Project
โครงการ หมายถึง ข้อเสนอที่จะดำเนินงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้สำเร็จ โดยมีการตระเตรียม และวางแผนงานไว้ล่วงหน้า เป็นการจัดการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่ง ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
21. activies
หมายถึง การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา

22. Leadership
ความเป็นผู้นำ หมายถึง กระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือมากกว่า พยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตนกระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่ม บุคคลอื่น มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ โดยมีความสำเร็จของกลุ่ม หรือองค์การเป็นเป้าหมาย
23. Leaders
  ผู้นำ หมายถึง  บุคคลที่มีความสามารถที่จะทำให้องค์การดำเนินไปอย่างก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมาย  โดยการใช้อิทธิพลเหนือทัศนคติและการกระทำของผู้อื่น24. Follows
ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง25. Situations
หมายถึง เรื่องราว เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
26. Self awareness
การรู้จักตน หมายถึง การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนการรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
27. Communication
การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่าง ๆ
28. Assertiveness
ความกล้าแสดงออก หรือก้าวล้ำ หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกมาในเชิงสร้างสรรค์ เชิงบวก เพื่อความถูกต้อง เหมาะสม ให้เกียรติ ตามกาลเทศะ สุภาพเรียบร้อย มีปิยวาจา มีเมตตาธรรม โดยที่มีสิทธิปกป้องสิทธิของตน หากเขาไม่เห็นด้วย หรือคิดว่าในภายหลังจะต้องมารับผลที่ตามมา หากไปตกปากรับคำในสิ่งที่รู้แล้วว่าทำไม่ได้
29. Time management
การบริหารเวลา   หมายถึง การดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุ เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้น
30. PSDCORB
การบริหารงาน– Planning หมายถึง การวางแผน   O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน  D – Directing หมายถึง การสั่งการ Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ R – Reporting หมายถึง การรายงาน  B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ
31. Formal Leaders
ผู้นำแบบเป็นทางการ หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน เพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้า
32. Informal Leaders
ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ หมายถึง ผู้นำที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา เพราะไม่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าในองค์การ แต่สมาชิกในหน่วยให้การยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้นำ เพราะเขามีคุณสมบัติบางประการที่หน่วยงานหรือสมาชิกในองค์การ ต้องการ ให้การยอมรับ หรือให้ความไว้วางใจ เช่น ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ มนุษย์สัมพันธ์ เป็นต้น
33. Environment
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
34. Globalization
โลกาภิวัตน์มีความเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมประเพณีเดียวนั้น  หมายถึง  สภาวะโลกไร้พรมแดนได้ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารกัน จนเกิดแบบแผน และพัฒนาไปสู่การมีวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างคนจากส่วนต่างๆของโลก
33. Competency
ความสามารถเชิงสมรรถนะ หรือสมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะทั้งในด้านทักษะ ความรู้ และพฤติกรรม ของบุคคล ที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงาน ที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ
34. Organization Cultural
วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ
35. Individual Behavior
พฤติกรรมบุคคล หมายถึง การกระทำหรือการแสดงออกของบุคคล เพื่อแสดงถึงสิ่งที่เขาอยากมี หรือ อยากเป็น ขึ้นอยู่กับสรีระและสิ่งแวดล้อม
36. Group Behavior
พฤติกรรมกลุ่ม หมายถึง เกิดจากการที่บุคคลตั้งแต่สองคนรวมกันเพื่อร่วมกำหนดเป้าหมายและเพื่อการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
37. Organization Behavior
หมายถึง แนวทางในการปฏิบัติของคนในองค์การซึ่งมาจากสิ่งที่คนนำเข้ามาในองค์การ ได้แก่ ความสามารถ ความคาดหวัง
38. Team working
การทำงานเป็นทีม หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีการประสานงานกัน ร่วมมือกัน สามัคคี มีเป้าหมายร่วมกัน และเชื่อใจกัน
39. Six Thinking Hats
หมวกหกใบหกสี หมายถึง แต่ละใบของหมวกคิดทั้งหกจะมีสีต่างกัน ขาว แดง ดำ เหลือง เขียว ฟ้า สีคือชื่อของหมวกแต่ละหมวก สีของแต่ละหมวกยังมีความสัมพันธ์กับการทำงานของมันด้วยสีขาว
สีขาวเป็นกลางไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง หมวกขาวจะเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงและตัวเลข
สีแดง สีแดงแสดงถึงความโกรธ ความเดือดดาล และอารมณ์ สีแดงให้มุมมองทางด้านอารมณ์
สีดำ สีดำคือข้อควรระวัง และคำเตือน ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของความคิดนั้นๆ
สีเหลือง ให้ความรู้สึกในทางที่ดี หมวกสีเหลืองเป็นมุมมองในทางบวก รวมถึงความหวัง และคิดในแง่ดีด้วย
หมวกสีเขียว หมายถึงความคิดริเริ่ม และความคิดใหม่ๆ
สีฟ้า  หมายถึง  การควบคุม การจัดระบบ กระบวนการคิดและการใช้หมวกอื่นๆ
40. Classroom Action Research
หมายถึง รูปแบบของการวิจัยที่ครูกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถนำไปใช้เพื่อการศึกษา และการวิจัยในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของห้องเรียน จึงอาจกล่าวได้ว่า การวิจัยในชั้นเรียนเป็นวิธีการวิจัยที่ออกแบบ และพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้ครูสามารถค้นพบว่ามีอะไรเกิดขึ้นในห้องเรียนบ้าง และยังช่วยให้ครูทราบข้อมูลที่จะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนที่จะมี ขึ้นต่อไปในอนาคต โดยเลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงบรรยาย หรือการวิจัยเชิงทดลอง อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นวิธีการศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 12

ศึกษาตำบลคลองใหญ่










ที่ตั้งและอาณาเขต
     ลักษณะที่ตั้งขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองใหญ่ ตั้งอยู่ เลขที่ 1 หมู่ที่ 3 ตำบล คลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง และอยู่ห่างจากอำเภอตะโหมดไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 13 กิโลเมตร
อาณาเขต


ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอ ตะโหมด
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอ ป่าบอน อำเภอป่าบอน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด
เนื้อที่
     องค์การบริหารส่วนตำบลคลองใหญ่ มีขนาดเนื้อที่โดยประมาณ 51.52 ตาราง กิโลเมตร หรือประมาณ 32,200 ไร่ แบ่งการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านคลองใหญ่
หมู่ที่ 2 บ้านเกาะเรียน
หมู่ที่ 3 บ้านท่าเชียด
หมู่ที่ 4 บ้านโหล๊ะบ้า
หมู่ที่ 5 บ้านหนองเลน
หมู่ที่ 6 บ้านพรุนายขาว
หมู่ที่ 7 บ้านห้วยตอ
หมู่ที่ 8 บ้านสายคลอง
หมู่ที่ 9 บ้านทุ่งนุ่น
หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งหนักยอ
ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
     ลักษณะภูมิประเทศ ประกอบด้วยเนินสูงเป็นลูกคลื่นทางทิศตะวันตกของพื้นที่ ลาดต่ำลงมา ทิศตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ ลักษณะภูมิอากาศ โดยทั่วไปอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย ประมาณ 27 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 23 – 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 79 % ต่อปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,923.3 มิลลิเมตรต่อปี แบ่งเป็น 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนกรกฎาคม และฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม – มกราคม
จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
ด้านเศรษฐกิจ
1) ดำเนินการให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
2) ส่งเสริมสนับสนุนแนวเศรษฐกิจพอเพียงแก่ประชาชนและชุมชน
3) เพิ่มศักยภาพการผลิตข้าว ปศุสัตว์ และพืชผักผลทางการเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดสารพิษ
ด้านสังคม
4) ยกระดับคุณภาพการศึกษาของประชาชนทุกระดับอย่างทั่วถึงรวมทั้งปลูกฝังและส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนสร้างความตระหนักและอนุรักษ์คุณค่าวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
5) ดำเนินการให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า
6) ดำเนินการเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด
7) ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างทั่วถึง
8) ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีการนันทนาการอย่างมีคุณภาพและเพียงพอ
ด้านสิ่งแวดล้อม
9) จัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ด้านองค์กร
10) ก่อสร้างที่ทำการให้มีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติราชการและการให้บริการประชาชน
11) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชน เอกชน หน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ยั่งยืน
12) ส่งเสริมสนับสนุนหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
13) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหาร และการบริการให้มีประสิทธิภาพ
14) พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการจัดการที่ดีอย่างต่อเนื่อง

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
ด้านเศรษฐกิจ
1) ดำเนินการให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
2) ส่งเสริมสนับสนุนแนวเศรษฐกิจพอเพียงแก่ประชาชนและชุมชน
3) เพิ่มศักยภาพการผลิตข้าว ปศุสัตว์ และพืชผักผลทางการเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดสารพิษ

ด้านสังคม
4) ยกระดับคุณภาพการศึกษาของประชาชนทุกระดับอย่างทั่วถึงรวมทั้งปลูกฝังและส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนสร้างความตระหนักและอนุรักษ์คุณค่าวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
5) ดำเนินการให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า
6) ดำเนินการเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด
7) ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างทั่วถึง
8) ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีการนันทนาการอย่างมีคุณภาพและเพียงพอ

ด้านสิ่งแวดล้อม
9) จัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ด้านองค์กร
10) ก่อสร้างที่ทำการให้มีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติราชการและการให้บริการประชาชน
11) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชน เอกชน หน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ยั่งยืน
12) ส่งเสริมสนับสนุนหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
13) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหาร และการบริการให้มีประสิทธิภาพ
14) พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการจัดการที่ดีอย่างต่อเนื่อง

จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
ด้านเศรษฐกิจ
1) ดำเนินการให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
2) ส่งเสริมสนับสนุนแนวเศรษฐกิจพอเพียงแก่ประชาชนและชุมชน
3) เพิ่มศักยภาพการผลิตข้าว ปศุสัตว์ และพืชผักผลทางการเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดสารพิษ

ด้านสังคม
4) ยกระดับคุณภาพการศึกษาของประชาชนทุกระดับอย่างทั่วถึงรวมทั้งปลูกฝังและส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรม ตลอดจนสร้างความตระหนักและอนุรักษ์คุณค่าวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น
5) ดำเนินการให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า
6) ดำเนินการเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด
7) ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างทั่วถึง
8) ดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมีการนันทนาการอย่างมีคุณภาพและเพียงพอ

ด้านสิ่งแวดล้อม
9) จัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ด้านองค์กร
10) ก่อสร้างที่ทำการให้มีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติราชการและการให้บริการประชาชน
11) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชน เอกชน หน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ยั่งยืน
12) ส่งเสริมสนับสนุนหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
13) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหาร และการบริการให้มีประสิทธิภาพ
14) พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการจัดการที่ดีอย่างต่อเนื่อง

สอบ

คำสั่งให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบลงในบล็อกดังนี้
1.Classroom managemant นักศึกษามีความเข้าใจความหมายอย่างไร และเกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างไร
ตอบ คือการจัดสภาพของห้องเรียน ที่ส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น การตกแต่งห้องเรียนทางวัตถุหรือทางกายภาพ ให้มีบรรยากาศ น่าเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนของนักเรียนเท่านั้น
2.ท่านเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพครู ซึ่งประกอบด้วย มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน  มาตรฐานการปฏิบัติตน อย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ  ข้อกําหนดสําหรับผู้ที่จะเข้ามาประกอบวิชาชีพ จะต้องมีความรู้และมีประสบการณ์วิชาชีพเพียงพอที่จะประกอบวิชาชีพ จึงจะสามารถขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงว่าเป็น
บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์พร้อมที่จะประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้
มาตรฐานการปฏิบัติงาน คือ เป็นผลการปฏิบัติงานในระดับใดระดับหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ที่น่าพอใจ หรืออยู่ในระดับที่ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ทำได้ การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน จะเป็นลักษณะข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาในงานที่ต้องปฏิบัติ โดยจะมีกรอบในการพิจารณากำหนดมาตรฐานหลายๆ ด้านด้วยกัน อาทิ ด้านปริมาณ ด้านคุณภาพ ด้านระยะเวลา ด้านค่าใช้จ่าย หรือพฤติกรรมของผู้ปฏิบัติงาน เนื่องมาจากมาตรฐานของงานบางประเภทจะออกมาในรูปของปริมาณ ในขณะที่บางประเภทอาจออกมาในรูปแบบของคุณภาพองค์การจึงจำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานให้เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของงานประเภทนั้นๆมาตรฐานการปฏิบัติตน หรือ กจรรยาบรรณของวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น (ศึกษานิเทศก์) ประกอบด้วย
 1. จรรยาบรรณต่อ
 2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
 3. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
 4. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
 5. จรรยาบรรณต่อสังคม
 3.ท่านมีแนวคิดหรือหลักการจัดชั้นเรียนในโรงเรียน อย่างไรที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
ตอบ เนื่องจากชั้นเรียนมีความสำคัญ เปรียบเสมือนบ้านที่สองของนักเรียน นักเรียนจะใช้เวลาอยู่ในชั้นเรียนประมาณวันละ 5-6 ชั่วโมง อิทธิพลของชั้นเรียนจึงมีมากพอที่จะปลูกผังลักษณะของเด็กให้เป็นแบบที่ต้องการได้ เช่น ให้เป็นตัวของตัวเอง ให้สามารถทำงานเป็นหมู่คณะได้ดี ให้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ ให้มีความรับผิดชอบ ให้รู้จักคิดวิเคราะห์   ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนมีคุณลักษณะนิสัยดังประสงค์ และมีความรู้สึกอบอุ่นสบายใจในการอยู่ในชั้นเรียนครูจึงควรคำนึงถึงหลักการจัดชั้นเรียน ดังต่อไปนี้
1. การจัดชั้นเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ชั้นเรียนควรเป็นห้องใหญ่หรือกว้างเพื่อสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้ จัดเป็นรูปต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน ถ้าเป็นห้องเล็ก ๆ หลาย ๆ ห้องติดกัน ควรทำฝาเลื่อน เพื่อเหมาะแก่การทำให้ห้องกว้างขึ้น
2. ควรจัดชั้นเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน โดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้

4.ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียน ได้แก่ (1) การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียน (2) สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย ท่านมีแนวคิดในการพัฒนา(1)และข้อ(2) อย่างไร ที่จะทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จดังกล่าว
ตอบ ช่ายกันปรับปรุงภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมบริเวณโรงเรียนให้มีความน่าอยู่มากขึ้นโดยจัดพื้นที่ให้มีจำพวกต้นไม้หรือดอกไม้ในบริเวณโรงเรียนเพื่อเกิดความน่าอยู่มากขึ้นและอากาศบริเวณโรงเรียนก็จะมีความสดชื่นมากขึ้น ส่วนในด้านความปลอดภัยคือจัดให้มีผู้รับผิดชอบในด้านอาคารและสถานที่เพื่อตรวจสอบความปลอดภัดของอาคารและสถานที่
5.ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตคำว่าคุณภาพผู้เรียนท่านมีความเข้าใจอย่างไรอธิบายยกตัวอย่างประกอบ ในทัศนคติของนักศึกษาครู
 ตอบ  ผู้เรียนมีการกำหนดจุดเน้นเพื่อให้นักเรียนทุกคนมีคุณลักษณะของการเป็นพลเมืองที่รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลาง การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และมีคุณลักษณะนิสัยตามพัฒนาการแต่ละช่วงวัย ได้แก่ ใฝ่ดี ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการศึกษาและการทำงาน การนำจุดเน้นดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ ต้องมีแนวทางการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และศักยภาพของผู้เรียน โรงเรียนต้องมีการจัดโครงสร้างเวลาเรียนที่ชัดเจน จัดกิจกรรมนอกห้องเรียนที่เน้นการปฏิบัติไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐ ของเวลาเรียน และมีการใช้สื่อเทคโนโลยีที่หลากหลาย การแสวงหาความร่วมมือกับชุมชนและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น มาร่วมในการจัดการเรียนรู้
6.ผลจากการประเมินพบว่าในปัจจุบันนี้ นักเรียนของประเทศไทย ยังมีปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมและคุณธรรมเป็นอย่างมาก ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะมีวิธีการอย่างไรที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรมให้เกิดขึ้นกับนักเรียน อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
 ตอบ ในแต่ละเดือนจัดให้มีการอบรมณ์ด้านจริยธรรมและคุณธรรมให้แก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนนั้นไดรู้หลักจริยธรรมและคุณธรรมโดยการเชิญผู้มีความรู้มาเป็นวิทยากรเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน

กิจกรรม14

ให้นักศึกษาศึกษา Power point  แล้วตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping  สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?
ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร

ตอบ         ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้Mind Mappingสอนให้เกิดความคิดองค์ควารู้ใหม่และกระจายองค์ความรู้เป็นของตนเองแล้วสรุปออกมาเป็นแผนผังความคิดและทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆด้วยและแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของมโนภาพที่สัมพันธ์กันรูปแบบหนึ่ง
ข้อดี
1.ช่วยประกอบในการเรียนการสอนของนักเรียน
2.ใช้ในกรณีการตัดสินใจทางเลือกหลายๆทาง
3.ช่วยในการสรุปงานทุกอย่าง
4.ใช้รวบรวมข้อมูลความคิด แนวคิด

ยกตัวอย่างประกอบ  วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร
หมวกขาว : ข้อเท็จจริง ตัวเลข ที่เป็นกลาง ไม่ปะปนกับข้อคิดเห็น หรืออารมณ์ความรู้สึกหรือเหตุผลด้านใดทั้งสิ้น
หมวกแดง : อารมณ์ความรู้สึก
หมวกดำ : เหตุผลด้านลบ
หมวกเหลือง : เหตุผลด้านบวก
หมวกเขียว : ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดใหม่ๆ
หมวกฟ้า : การควบคุมขั้นตอนการคิด และขั้นตอนการใช้หมวกทั้ง 6 ใบ
ในการคิดแบบหมวก6ใบการคิดเพียงครั้งละด้านจะช่วยให้แยกความรู้สึกออกจากเหตุผล ความคิดสร้างสรรค์ออกจากการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น ผู้คิดสวมหมวกเพียงใบหนึ่งใบใดจาก 6 ใบ เพื่อจำกัดให้คิดเพียงครั้งละด้าน จึงสามารถชักนำ และควบคุมกระบวนการทางความคิดและกระบวนการระดมความคิด ทั้งกรณีมีผู้คิดคนเดียว และกรณีมีผู้คิดร่วมกันหลายคน โดยเฉพาะในที่ประชุมที่จะมีประโยชน์มาก หากให้บุคคลเปลี่ยนหมวกเพื่อไปคิดในด้านที่ต่างไปจากที่เขาเคยชิน เพื่อเป็นการเปลี่ยนมุมมองของแต่ละคนแต่งในการเขียนโครงงานเราต้องมีข้อมูลต่อไปนี้
1.  ชื่อโครงงาน  2.  ชื่อผู้ทำโครงงาน   3.  ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน    4.  ที่มาและความสำคัญของโครงงาน   5.  วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า    6.  สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี)  7.  วิธีดำเนินงาน  8.  แผนปฏิบัติงาน   9.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ    10. เอกสารอ้างอิง
จะเห็นได้ว่าการเขียนโครงจะทำตามขั้นตอนแต่หมวก6ใบจะคิดแบบอิสระ

กิจกรรม13

The Healthy Classroom : ----------- โดย อาจารย์อภิชาต  วัชรพันธุ์   แนวคิด

ของ Steven Hastings (2006) จากหนังสือที่ชื่อว่า

ในวันนี้ กล่าวถึงความสำคัญของ "The Complete Classroom" โดย Hasting ได้เสนอแนะว่า "ห้องเรียนคุณภาพ/ห้องเรียนที่สมบูรณ์แบบ" น่าจะมีลักษณะที่สำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ 1) The Healthy Classroom....เป็นห้องเรียนที่ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน 2) The Thinking Classroom....เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง และ 3) The Well-Rounded Classroom....ห้องเรียนบรรยากาศดี The Healthy Classroom เพราะ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีข่าวเรื่องนักเรียนโรงเรียนมีชื่อแห่งหนึ่ง จุดไฟเผาอาคารเรียน-อาคารห้องสมุดของโรงเรียน(ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อโรงเรียน ช้า เพราะคิดว่าไม่เกิดผลดีทั้งต่อโรงเรียนและเด็ก) ซึ่งผมคิดว่าปัญหาส่วนหนึ่งน่าจะเนื่องมาจากการจัดการเรียนการสอนในประเทศ ของเรา โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับความนิยมสูง จะเน้นในความเป็น “The Thinking Classroom” หรือห้องเรียนที่เน้นด้านสมอง ด้านวิชาการมากเป็นพิเศษ ทาให้ลดโอกาสในการสร้าง “The Healthy Classroom” : ห้อง เรียนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน การ เกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ คิดว่าเป็นการเสียหายที่น้อยมาก คือ เสียอาคารเพียงหลังเดียวและคุ้มค่ามาก หากเราจะได้บทเรียนและหันมาทบทวนกันอย่างจริงจังในเรื่อง ความเป็นห้องเรียนสุขภาพดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนเพื่อ ลดโอกาสความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ถึง เวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพื่อสักวันหนึ่ง เราจะต้องไม่มานั่งเสียใจกับปัญหานักเรียนทำร้ายร่างกายตนเอง นักเรียนฆ่าตัวตาย หรือนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่น/ทำลายสิ่งของ
คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ
1) ในปัจจุบัน เด็กไทย (รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
2) ใน ปัจจุบันเด็กไทย (รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด (ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม     คำถามว่า มีโรคประจำตัวอะไรบ้างแต่ไม่เคยถามว่า หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก กำลังกายไหม)
3) เด็ก ไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด (ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
4) ขณะ นี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง (มีชื่อเสียง)
5) เมื่อเปิดภาคเรียน ภายใน 2 สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใด มีการจำแนกเด็กนักเรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึง ผลการเรียนอ่อน สุขภาพไม่ดี มีปัญหาทางครอบครัว รวมถึงมีผลการเรียนดีมาก เกรดเฉลี่ย 4.00 มาโดยตลอด ซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
6) ครู ประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต (สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้นโดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทางานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
7) โรงเรียน มีการพัฒนารายวิชา (วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่ (หลักสูตรประเทศสิงคโปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา การควบคุมอารมณ์”)
8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็น
ระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
9) โรงเรียน มีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจาชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ ฯลฯ
              
การทบทวนคำถาม ดังกล่าวข้างต้น จะทำให้เรามองเห็นสภาพปัจจุบัน-ปัญหา ในการจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือของประเทศไทย โดยเฉพาะในเรื่อง การพัฒนาเด็กแบบไม่สมดุล ที่เน้นการพัฒนาด้านวิชาการ มากกว่าการพัฒนา ด้านสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ จากการศึกษาแนวคิด เรื่อง The Healthy Classroom Hasting (2006) ได้เขียนถึงปัญหา การบริโภคอาหารไร้คุณภาพ (Junk Food) ปัญหา การเบี่ยงเบนทางเพศ ปัญหาการทำร้ายร่างกายตนเอง ปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็ก ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ชักจะเข้าใกล้ประเทศเรามากยิ่งขึ้นทุกวัน ยกเว้นเราจะมีการทบทวนสภาพปัญหาเหล่านี้กันอย่างจริงจัง ผมเชื่อว่า จะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ หรือแนวทางการแก้ปัญหา ที่เป็นรูปธรรม ในโอกาสต่อไปได้อย่างแน่นอน ทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตนักเรียน
จากคำถามดังกล่าวให้สรุปและตอบลงในบล็อกของนักศึกษา

ตอบ  จากการศึกษาเนื้อหาดังกล่าวดิฉันเห็นด้วยบทความนี้คือการเป็นครูนั้นไม่จำเป็นต้องไห้ความรู้กับนักเรียนเพียงอย่างเดียวเราจะต้องให้ความสำคัญกับทุกๆเรื่องและต้องให้ความสำคัญกับให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียนด้วยโดยให้เด็กได้บริหารสุขภาพจิต ได้ควบคุมอารมณ์ หรือได้พัฒนาบุคลิกภาพของเด็กให้ดีขึ้นเพื่อ ลดโอกาสความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตและเพื่อลดการเกิดปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น  เช่น ปัญหา การเบี่ยงเบนทางเพศ  ปัญหาการทำร้ายร่างกายตนเอง  ปัญหาการฆ่าตัวตายของเด็ก ฯลฯ  ซึ่งปัญหาเหล่านี้ชักจะเข้าใกล้ประเทศเรามากยิ่งขึ้นทุกวันและเมื่อนักเรียนเกิดการพัฒนาและได้รับการดูแลอย่างดีก็จะเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนมากขึ้น และเมื่อเด็กมีสุขภาพจิต รู้จักคุมอารมณ์ ก็อาจจะไม่ทำให้เกิดความรุนแรงจากปัญหาเหล่านี้
ดังนั้นการให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญนอกจากการให้แต่ความรู้อย่างเดียวแต่การทำให้ห้องเรียนคุณภาพเป็นห้องเรียนที่ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของนักเรียน เป็นห้องเรียนที่เน้นการส่งเสริมด้านการคิดวิเคราะห์ หรือพัฒนาการทางสมอง ห้องเรียนบรรยากาศดีเหล่านี้สามารถที่จะทำให้นักเรียนอยากที่จะเรียนรู้มากที่สุดและมีสุขภาพจิตที่ดีด้วย

กิจกรรม11

                                               แผนการการจัดการเรียนรู้

เรื่อง    การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา                     เวลา  3  ชั่วโมง
วันที่_______  เดือน__________________  พ.ศ._______

สาระสำคัญ

      การเมืองการปกครองสมัยอยุธยาเป็นลักษณะการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นสมมติเทพที่มีอำนาจสูงสุด ตลอดสมัยอยุธยาการปกครองได้ผ่านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลายครั้งเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละยุคสมัย ซึ่งทำให้
อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
             1.   บอกลักษณะและรูปแบบการเมืองการปกครองสมัยอยุธยาได้
             2.   บอกสาเหตุของความเสื่อมของอาณาจักรอยุธยาจนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาได้
เนื้อหาสาระ
                       1.   ลักษณะการเมืองสมัยอยุธยา
             2.   การปกครองสมัยอยุธยา
             3.   รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยา
             4.   ความเสื่อมของอาณาจักรอยุธยา
             5.   การเสียกรุงศรีอยุธยา
กระบวนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 8 ลักษณะการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา เวลา 2 ชั่วโมง
ขั้นนำ       1.   ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
              2.   ครูนำบัตรคำคำว่า สมมติเทพ มาติดบนกระดานแล้วซักถามนักเรียนว่าคำนี้มี
ความหมายเกี่ยวกับอะไร
              3.   แจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ขั้นสอน    4.   ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ศึกษาเนื้อหาจากหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้
พื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ม.2 ของสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช
              5.   หลังจากที่ศึกษาเนื้อหาจบ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มตั้งคำถามจำนวน 5 ข้อ จากนั้น
ครูสุ่มตัวอย่างให้นักเรียนออกมาถามคำถามเพื่อนกลุ่มอื่น โดยให้ยกมือตอบจนครบทุกกลุ่ม แล้วสรุปคะแนน กลุ่มที่มีคะแนนสูงสุดชนะ
               6. ครูให้รางวัลหรือคำชมเชยกลุ่มที่ชนะ
               7. ครูอธิบายถึงพัฒนาการของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งมีลักษณะเป็นพ่อเมืองมาเป็นลักษณะเป็นสมมติเทพ อธิบายถึงธรรมเนียมประเพณีที่แสดงให้เห็นถึง
พระมหากษัตริย์ในฐานะสมมติเทพ และอธิบายถึงเอกลักษณ์พระมหากษัตริย์ไทย
                 8. แบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อศึกษาค้นคว้า ทำรายงานและให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมารายงานหน้าชั้น โดยให้
             กลุ่มที่ 1    ศึกษาค้นคว้าเรื่อง การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น
            กลุ่มที่ 2 ศึกษาค้นคว้าเรื่อง การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง
           กลุ่มที่ 3 ศึกษาค้นคว้าเรื่อง การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย
                 9.เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยายหรืออภิปรายเรื่อง การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา                                                                                      
              10.ให้นักเรียนแต่ละคนเขียนแผนที่ความคิดเกี่ยวกับการปกครองในสมัยอยุธยา               
ขั้นสรุป    11. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหา
การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 9 ความเสื่อมและการเสียกรุงศรีอยุธยา   เวลา 1 ชั่วโมง
ขั้นนำ      1.   ครูซักถามนักเรียนว่าสาเหตุของความเสื่อมและการเสียกรุงศรีอยุธยามีอะไรบ้าง
ขั้นสอน    2.   ครูเขียนคำตอบบนกระดาน แล้วครูอธิบายเพิ่มเติม
             3.   ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นถึงสาเหตุของการสิ้นสุดของอาณาจักรอยุธยา
                   4.   ครูใช้แผนที่ประกอบการอธิบายเกี่ยวกับการเสียกรุงศรีอยุธยา จากนั้นขออาสาสมัครนักเรียนออกมาเล่าเกี่ยวกับการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 และ 2 ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร เมื่อเล่าจบครูและเพื่อนปรบมือให้กำลังใจ
                   5.   ให้นักเรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 35 คน จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทน
ออกมาจับซองคำถามที่ครูเตรียมไว้ กลุ่มละ 1 คำถาม
                   6.   ให้นักเรียนภายในกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบ โดยศึกษาจากหนังสือเรียนและหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่ครูเตรียมไว้ให้ แล้วเขียนคำตอบลงในกระดาษเปล่า ตัวอย่างคำถาม เช่น
                            1)  ปัจจัยที่ทำให้อาณาจักรอยุธยาเสื่อมมีอะไรบ้าง
                            2)  การเสียกรุงศรีอยุธยาทั้ง 2 ครั้ง มีสาเหตุมาจากอะไร
                            3)  ความอ่อนแอทางการเมืองและการทหารเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียกรุงศรีอยุธยาจริงหรือไม่ อย่างไร
                  7. ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมาตอบคำถามที่ได้ไปศึกษาหน้าชั้นเรียน และครูอธิบาย
เพิ่มเติม
                  8.   ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
ขั้นสรุป         9.   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหา


สื่อการเรียนรู้
             1.   บัตรคำ
             2.   แผนที่อาณาจักรอยุธยา
             3.   ใบงาน
             4.   หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ประวัติศาสตร์ .2 ของสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
             1.   วิธีวัด
                      สังเกตการตอบคำถาม
                      สังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
                      สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
                      การทำใบงาน
                      ทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
             2.   เครื่องมือวัด
                      แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม
                      แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล
                      ใบงาน
                      แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
          ให้นักเรียนอภิปรายในหัวข้อ ลักษณะประชาธิปไตยที่พบในการปกครองของสมเด็จพระ-บรมไตรโลกนาถ
บันทึกผลการจัดการเรียนรู้
1.         ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


             2.   ปัญหาอุปสรรค


             3.   ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม


                                                                                                    ลงชื่อ
             (ผู้สอน)
        ใบงานที่ 1       ลักษณะการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
             อธิบายลักษณะการเมืองการปกครองสมัยอยุธยาได้
แนวทางการปฏิบัติ
             ให้นักเรียนเติมคำลงในแผนภูมิการปกครองสมัยอยุธยาตามโครงสร้างที่กำหนดให้ถูกต้อง

พระมหากษัตริย์
การปกครองส่วนกลาง
กรมเวียง
กรมวัง
กรมคลัง
กรมนา
การปกครองส่วนภูมิภาค
เมืองหน้าด่าน
เมืองชั้นใน
เมืองชั้นนอก
เมืองประเทศราช
ลงชื่อ
                                                                                                                         (ผู้ปฏิบัติงาน)
วันที่  เดือน  ..
          ใบงานที่ 2     รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยา
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                อธิบายรูปแบบการปกครองสมัยอยุธยาได้
แนวทางการปฏิบัติ
             ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้แล้ววงกลมล้อมรอบคำที่ถูกต้องในตาราง
    1. หัวเมืองที่ถัดจากเมืองลูกหลวงออกไป คือ หัวเมืองชั้นใน
    2. ผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชสำนักและพิจารณาพิพากษาคดี คือ ขุนวัง
    3. เมืองลูกหลวงตั้งอยู่รอบราชธานี 4 ทิศ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เมืองหน้าด่าน
    4. สมัยพระบรมไตรโลกนาถ กรมคลังเปลี่ยนเป็น โกษาธิบดี
    5. ตำแหน่งที่ดูแลข้าราชการฝ่ายพลเรือนเรียกว่า สมุหนายก
    6. พระยายมราชอินทราบดีศรีชัยบริรักษ์โลกากร เรียกสั้น ว่า ออกญายมราช
    7. สมัยพระบรมไตรโลกนาถเปลี่ยนกรมนาเป็น เกษตราธิการ
    8. ในสมัยอยุธยาเมืองสุโขทัยจัดเป็น เมืองประเทศราช
    9. สมัยอยุธยาตอนต้นได้จัดการปกครองแบบเขมร คือ จตุสดมภ์
  10. ออกญาโกษาธิบดีมีตราประจำตำแหน่ง คือ ตราบัวแก้ว


ทำตารางไขว้
ลงชื่อ
                                                                                                                         (ผู้ปฏิบัติงาน)
วันที่  เดือน  ..
แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
    1.  อาณาจักรอยุธยามีการปกครองแบบใด
          ก     คณาธิปไตย
          ข     ประชาธิปไตย
          ค     พ่อปกครองลูก
          ง     สมบูรณาญาสิทธิราชย์
    2.  การจัดการปกครองแบบจตุสดมภ์เริ่มใช้สมัยอยุธยาในรัชกาลใด
          ก     สมเด็จพระเพทราชา
          ข     สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
          ค     สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
          ง     สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
    3.  เมืองใดที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์ที่ราชธานี
          ก     เมืองชั้นใน
          ข     เมืองชั้นนอก
          ค     เมืองประเทศราช
          ง     เมืองพระยามหานคร
    4.  ในสมัยอยุธยาตอนต้นมีการจัดการปกครองแบบใด
          ก     การปกครองส่วนกลาง ส่วนหัวเมือง
          ข     การปกครองส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น
          ค     การปกครองส่วนหัวเมือง ส่วนกลาง เมืองประเทศราช
               หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก เมืองประเทศราช
5. กรมที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาพระราชทรัพย์และผลประโยชน์ของราชอาณาจักรคือกรมใด
          ก     กรมวัง
          ข     กรมนา
          ค     กรมคลัง
          ง     กรมเวียง
    6.  ในสมัยอยุธยาตอนต้นมีการจัดการปกครอง แบบใด
          ก     แบบรัฐสภา
          ข     แบบจตุสดมภ์
          ค     แบบส่วนกลาง
          ง     แบบส่วนภูมิภาค
    7. หัวเมืองชั้นนอกประกอบด้วยเมืองใดบ้าง
          ก     เขมร สุโขทัย สุพรรณบุรี
          ข     ทวาย ปราจีนบุรี พรหมบุรี
          ค     นครนายก ลพบุรี พระประแดง
          ง     ไชยา  ตะนาวศรี นครศรีธรรมราช
    8. อิทธิพลทางด้านกฎหมายที่สำคัญ ที่อยุธยารับมาจากอินเดียคืออะไร
          ก     จตุสดมภ์
          ข     พระไตรปิฎก
          ค     พระธรรมวินัย
          ง     พระธรรมศาสตร์
    9. ออกญามหาเสนามีตราประจำตำแหน่งเป็นอะไร
          ก     ตราบัวแก้ว
               ตราพระคชสีห์
          ค     ตราพระราชสีห์
          ง     ตราเทพยดาทรงพระโค
  10.  ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ใครมีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในราชธานี  
               กรมวัง                     กรมคลัง
          ข     กรมนา                     กรมเวียง
  11.  หัวเมืองชั้นโทในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชได้แก่เมืองใดบ้าง
          ก     จันทบุรี พัทลุง ชุมพร
          ข     พิจิตร นครสวรรค์ พิชัย
          ค     สวรรคโลก กำแพงเพชร
          ง     พิษณุโลก นครศรีธรรมราช
12. การปรับปรุงการปกครองในสมัยพระบรม-ไตรโลกนาถ มีหลักการสำคัญอย่างไร
          ก     การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
          ข     การกระจายอำนาจจากศูนย์กลาง
          ค     การแบ่งแยกอำนาจฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน
          ง     ถูกทั้งข้อ และ
13. เหตุใดพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงยกเลิกเมืองลูกหลวงและให้มีฐานะเป็นเพียง
เมืองชั้นจัตวา
          ก     เสียงบประมาณในการดูแล
          ข     มักจะถูกข้าศึกรุกรานเสมอ
          ค     ป้องกันการแย่งชิงราชสมบัติ
          ง     ยากแก่การควบคุมดูแลเพราะอยุธยามีอาณาเขตกว้างขวาง
  14.  สาเหตุข้อใดที่ทำให้การแยกทหารออกจากพลเรือนโดยเด็ดขาดในสมัยอยุธยาไม่ประสบผลสำเร็จ
          ก     สมุหนายกมีอำนาจมาก
          ข     พระมหากษัตริย์ทรงรวมอำนาจ
          ค     กฎหมายการเกณฑ์ทหารไม่รัดกุม
          ง     ชายไทยทุกคนต้องเป็นทหารเมื่อเกิดสงคราม
15. ปัจจัยภายในที่เป็นสาเหตุความเสื่อมของอาณาจักรอยุธยาคืออะไร
          ก     ปัญหาการสืบราชสมบัติ
          ข     ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
          ค     การแก่งแย่งอำนาจของพวกเจ้านายกับขุนนาง
               ถูกทุกข้อ