แผนการการจัดการเรียนรู้
เรื่อง การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา เวลา 3 ชั่วโมง
เรื่อง การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา เวลา 3 ชั่วโมง
วันที่_______ เดือน__________________ พ.ศ._______
สาระสำคัญ
การเมืองการปกครองสมัยอยุธยาเป็นลักษณะการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นสมมติเทพที่มีอำนาจสูงสุด ตลอดสมัยอยุธยาการปกครองได้ผ่านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลายครั้งเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละยุคสมัย ซึ่งทำให้
อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นสมมติเทพที่มีอำนาจสูงสุด ตลอดสมัยอยุธยาการปกครองได้ผ่านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลายครั้งเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละยุคสมัย ซึ่งทำให้
อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. บอกลักษณะและรูปแบบการเมืองการปกครองสมัยอยุธยาได้
2. บอกสาเหตุของความเสื่อมของอาณาจักรอยุธยาจนกระทั่งเสียกรุงศรีอยุธยาได้
เนื้อหาสาระ
1. ลักษณะการเมืองสมัยอยุธยา
2. การปกครองสมัยอยุธยา
3. รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยา
4. ความเสื่อมของอาณาจักรอยุธยา
5. การเสียกรุงศรีอยุธยา
กระบวนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 8 ลักษณะการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา เวลา 2 ชั่วโมง
ขั้นนำ 1. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
2. ครูนำบัตรคำคำว่า สมมติเทพ มาติดบนกระดานแล้วซักถามนักเรียนว่าคำนี้มี
ความหมายเกี่ยวกับอะไร
ความหมายเกี่ยวกับอะไร
3. แจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
ขั้นสอน 4. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน ศึกษาเนื้อหาจากหนังสือเรียนสาระการเรียนรู้
พื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ม.2 ของสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช
พื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ม.2 ของสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช
5. หลังจากที่ศึกษาเนื้อหาจบ ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มตั้งคำถามจำนวน 5 ข้อ จากนั้น
ครูสุ่มตัวอย่างให้นักเรียนออกมาถามคำถามเพื่อนกลุ่มอื่น โดยให้ยกมือตอบจนครบทุกกลุ่ม แล้วสรุปคะแนน กลุ่มที่มีคะแนนสูงสุดชนะ
ครูสุ่มตัวอย่างให้นักเรียนออกมาถามคำถามเพื่อนกลุ่มอื่น โดยให้ยกมือตอบจนครบทุกกลุ่ม แล้วสรุปคะแนน กลุ่มที่มีคะแนนสูงสุดชนะ
6. ครูให้รางวัลหรือคำชมเชยกลุ่มที่ชนะ
7. ครูอธิบายถึงพัฒนาการของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งมีลักษณะเป็นพ่อเมืองมาเป็นลักษณะเป็นสมมติเทพ อธิบายถึงธรรมเนียมประเพณีที่แสดงให้เห็นถึง
พระมหากษัตริย์ในฐานะสมมติเทพ และอธิบายถึงเอกลักษณ์พระมหากษัตริย์ไทย
พระมหากษัตริย์ในฐานะสมมติเทพ และอธิบายถึงเอกลักษณ์พระมหากษัตริย์ไทย
8. แบ่งนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อศึกษาค้นคว้า ทำรายงานและให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมารายงานหน้าชั้น โดยให้
กลุ่มที่ 1 ศึกษาค้นคว้าเรื่อง การปกครองสมัยอยุธยาตอนต้น
กลุ่มที่ 2 ศึกษาค้นคว้าเรื่อง การปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง
กลุ่มที่ 3 ศึกษาค้นคว้าเรื่อง การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย
9.เชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิมาบรรยายหรืออภิปรายเรื่อง การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา
10.ให้นักเรียนแต่ละคนเขียนแผนที่ความคิดเกี่ยวกับการปกครองในสมัยอยุธยา
ขั้นสรุป 11. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหา
การจัดการเรียนรู้ครั้งที่ 9 ความเสื่อมและการเสียกรุงศรีอยุธยา เวลา 1 ชั่วโมง
ขั้นนำ 1. ครูซักถามนักเรียนว่าสาเหตุของความเสื่อมและการเสียกรุงศรีอยุธยามีอะไรบ้าง
ขั้นสอน 2. ครูเขียนคำตอบบนกระดาน แล้วครูอธิบายเพิ่มเติม
3. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นถึงสาเหตุของการสิ้นสุดของอาณาจักรอยุธยา
4. ครูใช้แผนที่ประกอบการอธิบายเกี่ยวกับการเสียกรุงศรีอยุธยา จากนั้นขออาสาสมัครนักเรียนออกมาเล่าเกี่ยวกับการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 และ 2 ว่ามีสาเหตุมาจากอะไร เมื่อเล่าจบครูและเพื่อนปรบมือให้กำลังใจ
5. ให้นักเรียนแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3–5 คน จากนั้นให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทน
ออกมาจับซองคำถามที่ครูเตรียมไว้ กลุ่มละ 1 คำถาม
ออกมาจับซองคำถามที่ครูเตรียมไว้ กลุ่มละ 1 คำถาม
6. ให้นักเรียนภายในกลุ่มช่วยกันคิดหาคำตอบ โดยศึกษาจากหนังสือเรียนและหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่ครูเตรียมไว้ให้ แล้วเขียนคำตอบลงในกระดาษเปล่า ตัวอย่างคำถาม เช่น
1) ปัจจัยที่ทำให้อาณาจักรอยุธยาเสื่อมมีอะไรบ้าง
2) การเสียกรุงศรีอยุธยาทั้ง 2 ครั้ง มีสาเหตุมาจากอะไร
3) ความอ่อนแอทางการเมืองและการทหารเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียกรุงศรีอยุธยาจริงหรือไม่ อย่างไร
7. ให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมาตอบคำถามที่ได้ไปศึกษาหน้าชั้นเรียน และครูอธิบาย
เพิ่มเติม
เพิ่มเติม
8. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
ขั้นสรุป 9. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเนื้อหา
สื่อการเรียนรู้
1. บัตรคำ
2. แผนที่อาณาจักรอยุธยา
3. ใบงาน
4. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน ประวัติศาสตร์ ม.2 ของสำนักพิมพ์วัฒนาพานิช
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1. วิธีวัด
– สังเกตการตอบคำถาม
– สังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
– สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
– การทำใบงาน
– ทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
2. เครื่องมือวัด
– แบบประเมินพฤติกรรมกลุ่ม
– แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคล
– ใบงาน
– แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
กิจกรรมเสริมการเรียนรู้
ให้นักเรียนอภิปรายในหัวข้อ ลักษณะประชาธิปไตยที่พบในการปกครองของสมเด็จพระ-บรมไตรโลกนาถ
บันทึกผลการจัดการเรียนรู้
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2. ปัญหาอุปสรรค
3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
ลงชื่อ
(ผู้สอน)
ใบงานที่ 1 ลักษณะการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
อธิบายลักษณะการเมืองการปกครองสมัยอยุธยาได้
แนวทางการปฏิบัติ
ให้นักเรียนเติมคำลงในแผนภูมิการปกครองสมัยอยุธยาตามโครงสร้างที่กำหนดให้ถูกต้อง
พระมหากษัตริย์
การปกครองส่วนกลาง
กรมเวียง
กรมวัง
กรมคลัง
กรมนา
การปกครองส่วนภูมิภาค
เมืองหน้าด่าน
เมืองชั้นใน
เมืองชั้นนอก
เมืองประเทศราช
ลงชื่อ
(ผู้ปฏิบัติงาน)
วันที่ เดือน พ.ศ.
ใบงานที่ 2 รูปแบบการปกครองสมัยอยุธยา
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
อธิบายรูปแบบการปกครองสมัยอยุธยาได้
แนวทางการปฏิบัติ
ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้แล้ววงกลมล้อมรอบคำที่ถูกต้องในตาราง
1. หัวเมืองที่ถัดจากเมืองลูกหลวงออกไป คือ หัวเมืองชั้นใน
2. ผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชสำนักและพิจารณาพิพากษาคดี คือ ขุนวัง
3. เมืองลูกหลวงตั้งอยู่รอบราชธานี 4 ทิศ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เมืองหน้าด่าน
4. สมัยพระบรมไตรโลกนาถ กรมคลังเปลี่ยนเป็น โกษาธิบดี
5. ตำแหน่งที่ดูแลข้าราชการฝ่ายพลเรือนเรียกว่า สมุหนายก
6. พระยายมราชอินทราบดีศรีชัยบริรักษ์โลกากร เรียกสั้น ๆ ว่า ออกญายมราช
7. สมัยพระบรมไตรโลกนาถเปลี่ยนกรมนาเป็น เกษตราธิการ
8. ในสมัยอยุธยาเมืองสุโขทัยจัดเป็น เมืองประเทศราช
9. สมัยอยุธยาตอนต้นได้จัดการปกครองแบบเขมร คือ จตุสดมภ์
10. ออกญาโกษาธิบดีมีตราประจำตำแหน่ง คือ ตราบัวแก้ว
ทำตารางไขว้
ลงชื่อ
(ผู้ปฏิบัติงาน)
วันที่ เดือน พ.ศ.
แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. อาณาจักรอยุธยามีการปกครองแบบใด
ก คณาธิปไตย
ข ประชาธิปไตย
ค พ่อปกครองลูก
ง สมบูรณาญาสิทธิราชย์
2. การจัดการปกครองแบบจตุสดมภ์เริ่มใช้สมัยอยุธยาในรัชกาลใด
ก สมเด็จพระเพทราชา
ข สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
ค สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
3. เมืองใดที่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายพระมหากษัตริย์ที่ราชธานี
ก เมืองชั้นใน
ข เมืองชั้นนอก
ค เมืองประเทศราช
ง เมืองพระยามหานคร
4. ในสมัยอยุธยาตอนต้นมีการจัดการปกครองแบบใด
ก การปกครองส่วนกลาง ส่วนหัวเมือง
ข การปกครองส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น
ค การปกครองส่วนหัวเมือง ส่วนกลาง เมืองประเทศราช
ง หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก เมืองประเทศราช
5. กรมที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาพระราชทรัพย์และผลประโยชน์ของราชอาณาจักรคือกรมใด
ก กรมวัง
ข กรมนา
ค กรมคลัง
ง กรมเวียง
6. ในสมัยอยุธยาตอนต้นมีการจัดการปกครอง แบบใด
ก แบบรัฐสภา
ข แบบจตุสดมภ์
ค แบบส่วนกลาง
ง แบบส่วนภูมิภาค
7. หัวเมืองชั้นนอกประกอบด้วยเมืองใดบ้าง
ก เขมร สุโขทัย สุพรรณบุรี
ข ทวาย ปราจีนบุรี พรหมบุรี
ค นครนายก ลพบุรี พระประแดง
ง ไชยา ตะนาวศรี นครศรีธรรมราช
8. อิทธิพลทางด้านกฎหมายที่สำคัญ ที่อยุธยารับมาจากอินเดียคืออะไร
ก จตุสดมภ์
ข พระไตรปิฎก
ค พระธรรมวินัย
ง พระธรรมศาสตร์
9. ออกญามหาเสนามีตราประจำตำแหน่งเป็นอะไร
ก ตราบัวแก้ว
ข ตราพระคชสีห์
ค ตราพระราชสีห์
ง ตราเทพยดาทรงพระโค
10. ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ใครมีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในราชธานี
ก กรมวัง ค กรมคลัง
ข กรมนา ง กรมเวียง
11. หัวเมืองชั้นโทในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชได้แก่เมืองใดบ้าง
ก จันทบุรี พัทลุง ชุมพร
ข พิจิตร นครสวรรค์ พิชัย
ค สวรรคโลก กำแพงเพชร
ง พิษณุโลก นครศรีธรรมราช
12. การปรับปรุงการปกครองในสมัยพระบรม-ไตรโลกนาถ มีหลักการสำคัญอย่างไร
ก การรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
ข การกระจายอำนาจจากศูนย์กลาง
ค การแบ่งแยกอำนาจฝ่ายทหารและพลเรือนออกจากกัน
ง ถูกทั้งข้อ ก และ ค
13. เหตุใดพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงยกเลิกเมืองลูกหลวงและให้มีฐานะเป็นเพียง
เมืองชั้นจัตวา
เมืองชั้นจัตวา
ก เสียงบประมาณในการดูแล
ข มักจะถูกข้าศึกรุกรานเสมอ
ค ป้องกันการแย่งชิงราชสมบัติ
ง ยากแก่การควบคุมดูแลเพราะอยุธยามีอาณาเขตกว้างขวาง
14. สาเหตุข้อใดที่ทำให้การแยกทหารออกจากพลเรือนโดยเด็ดขาดในสมัยอยุธยาไม่ประสบผลสำเร็จ
ก สมุหนายกมีอำนาจมาก
ข พระมหากษัตริย์ทรงรวมอำนาจ
ค กฎหมายการเกณฑ์ทหารไม่รัดกุม
ง ชายไทยทุกคนต้องเป็นทหารเมื่อเกิดสงคราม
15. ปัจจัยภายในที่เป็นสาเหตุความเสื่อมของอาณาจักรอยุธยาคืออะไร
ก ปัญหาการสืบราชสมบัติ
ข ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
ค การแก่งแย่งอำนาจของพวกเจ้านายกับขุนนาง
ง ถูกทุกข้อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น